อะนิเมะคือ คำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่น
Posted 2021/07/05 132 0
อะนิเมะคือ เป็นชื่อเกี่ยวกับอะไร ทำไมถึงใช้กันในประเทศญี่ปุ่น
อะนิเมะคือ เรามารู้จักการ์ตูนอะนิเมะของญี่ปุ่น กันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร บทความนี้จะช่วยขยายความ ให้ได้เข้าใจความหมายกันมากยิ่งขึ้น อะนิเมะ (「アニメ」 anime ) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชัน (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว
แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะ ของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึง ภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะ แตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูน จากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยสร้าง อะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้น เพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์
โดยมีแนวเรื่องหลากหลาย และครอบคลุม แนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูน เรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่อง ถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะ ที่ถูกนำไปดัดแปลง เป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย
ประวัติความเป็นมาการ์ตูนญี่ปุ่น
เมื่อปี 1970 นักสร้างภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น เริ่มทดลองใช้เทคนิค การสร้างภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งได้แรงบรรดาลใจมาจาก ภาพยนตร์การ์ตูนใน สหรัฐอเมริกา และ[[ยุโรป]แต่ไม่ยอมรับ] เพื่อที่ญี่ปุ่นสามารถ สร้างภาพยนตร์การ์ตูน ของตนเอง ปลายปี 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยก ออกจากภาพยนตร์การ์ตูน ของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน ในทศวรรษที่ 1980 อะนิเมะได้รับความนิยม กว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอะนิเมะ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอะนิเมะได้แพร่ ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อม ๆ กับการขยายตัวของตลาดอะนิเมะ นอกประเทศสำหรับคนที่ชื่นชอบ
คำศัพท์
อะนิเมะคือ (アニメ) เป็นคำย่อของ アニメーション ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ (สังเกตได้ว่าเขียนเป็นคะตะคะนะ) “แอนิเมชัน” (animation) ซึ่งหมายความถึงภาพยนตร์การ์ตูน คำทั้งสองคำนี้สามารถ ใช้แทนกันได้ในภาษาญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรูปย่อ เป็นที่นิยมใช้มากกว่า คำว่า “อะนิเมะ” มีขอบเขตกว้างครอบคลุม ภาพยนตร์การ์ตูนทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่ที่แนวหรือ รูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูนใด ๆ
เจแปนิเมชัน (Japanimation) ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า เจแปน (Japan) กับ แอนิเมชัน เป็นคำอีกคำที่มีความหมายเหมือนอะนิเมะ คำนี้นิยมใช้กันมากในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แต่มีคนใช้น้อยลงตั้งแต่ปี 1990 และหมดความนิยมลงก่อนกลางทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันคำนี้ ถูกใช้อยู่แค่ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์การ์ตูนทั่ว asๆ ไป (ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกรวม ๆ ว่าอะนิเมะ) และภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตภายในประเทศ
อะนิเมะคือ ประเภทของแนวการ์ตูนอะนิเมะ
สำหรับแนวการ์ตูนอะนิเมะ มีอยู่หลายแนวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น แอคชัน, ผจญภัย, เรื่องสำหรับเด็ก, ตลก, โศกนาฏกรรม , แฟนตาซี, สยองขวัญ, ฮาเรม ,โรแมนติก และนิยายวิทยาศาสตร์
อะนิเมะส่วนใหญ่จะมีเนื้อหา จากแนวอะนิเมะมากกว่าหนึ่งแนว และอาจมีสารัตถะมากกว่าหนึ่งสารัตถะ ทำให้การจัดแบ่งอะนิเมะ เป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องปกติที่อะนิเมะแนวแอคชันส่วนใหญ่ จะสอดแทรกด้วยเนื้อหาแนวตลก และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์ สังคมปนอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกัน อะนิเมะแนวรักโรแมนติกหลายเรื่อง ก็มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือดไม่แพ้ อะนิเมะแนวแอคชันเลย
แนวที่สามารถพบได้ แค่ในอะนิเมะและมังงะได้แก่ (สำหรับแนวอื่นๆ ดูรายชื่อแนวภาพยนตร์)
บิโชโจะ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กสาวหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กสาว หน้าตาสวยงาม เช่นเมจิกไนท์เรย์เอิร์ท
บิโชเน็น: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กหนุ่มหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กหนุ่ม หน้าตาหล่อเหลาและท่าทางสง่างาม เช่นฟูชิกิยูกิ
เอดชิ: มีรากมาจากตัวอักษร “H” ในภาษาญี่ปุ่นหมายว่า “ทะลึ่ง” อะนิเมะในแนวนี้ จะมีมุขตลกทะลึ่งแบบผู้ใหญ่ และมีภาพวาบหวาม แต่ไม่เข้าข่ายอนาจารเป็นจุดขาย ตัวอย่างเช่น คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด
เฮ็นไต: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “ไม่ปกติ ในแง่จิตใจ” หรือ “วิตถาร”) เป็นคำที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่น สำหรับเรียกอะนิเมะที่จัดได้ว่า เป็นสื่อลามกอนาจาร ในประเทศญี่ปุ่นเรียกอะนิเมะประเภทนี้ว่า 18禁アニメ (อ่านว่า “จูฮาจิคินอะนิเมะ”; อะนิเมะสำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี) หรือ エロアニメ (อ่านว่า “เอะโระอะนิเมะ”; มาจาก “erotic anime” แปลว่า “อะนิเมะที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ) ตัวอย่างเช่น ลาบลูเกิร์ล)
อะนิเมะสำหรับเด็ก: มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ตัวอย่างเช่น โดราเอมอน, นารูโตะนินจาจอมคาถา
โชเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ้มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชาย เช่นดราก้อนบอล
โชโจะ: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง เช่นเซเลอร์มูน
เซเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ชายตอนปลายถึงผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี เช่น โอ้! มายก็อดเดส
โจะเซ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ผู้หญิงอายุน้อย”) อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 ปี ตัวอย่างเช่น นานะ
มาโฮะโชโจ: แนวย่อยหนึ่งของอะนิเมะแนวโชโจะ มีตัวละครหลักเป็นเด็กผู้หญิง ที่มีพลังวิเศษอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น การ์ดแคปเตอร์ซากุระ
มาโฮะโชเน็น: เหมือนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ตัวเอกเป็นผู้ชาย เช่น ดี.เอ็น.แองเจิล
โชโจะไอ/ยุริ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง เช่นสตรอเบอรีพานิก
โชเน็นไอ/ยะโอะอิ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย เช่นเลิฟเลส
โมเอะ (Moe/萌え) = แสลงญี่ปุ่นที่ใช้อธิบายถึง ตัวละครหญิงที่ดูน่ารัก น่าทะนุถนอม เหมือนต้องการให้ใครมาปกป้อง ส่วนใหญ่จะเป็นตัวละครที่ไม่สูงมาก และหน้าตาน่ารักใส ๆ คำคำนี้ไม่มีความหมายที่ชัดเจนและแน่นอนค่ะ พอดูอนิเมะหรืออ่านมังงะ หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ไปมาก ๆ แล้วจะเข้าใจความหมายของมันเอง
ที่มาของคำว่า “โมะเอะ” ไม่แน่ชัด บางที่กล่าวว่ามาจาก ชื่อตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่น (เช่น โทโมเอะ โฮตารุ จากเรื่อง เซเลอร์มูน หรือ ซางิซาวะ โมเอะ จากเรื่อง Kyoryu Wakusei) [1] ในขณะที่บางแห่งกล่าวว่า เกิดจากการเล่นคำจากคำว่า “โมะเอะรุ” (ญี่ปุ่น: 燃える moeru ?) ที่แปลว่า “เผาไหม้” กล่าวคือตัวละครที่เป็นโมะเอะทำให้เกิด “เพลิงพิศวาส” ขึ้นในใจของผู้ชมนั่นเอง
อีกประเภทที่ควรรู้จัก Manga (มังงะ) คืออะไร?
มารู้จักกับการ์ตูนมังงะกันให้มากขึ้นกว่าเดิม! คนไหนอยากจะเสริมเพิ่มเติมอะไรก็สามารถคอมเมนต์กันเข้ามาได้ เพราะอาจจะมีบางส่วนที่ตกหล่น หรืออาจจะมีเรื่องที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อนรออ่านอยู่นะจ๊ะ 🙂
มังงะ คือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น
ใช่แล้วจ้ะ เพราะมังงะเป็นคำที่ใช้เรียกแทนหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นช่องๆ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนะ! โดยสันนิษฐานว่าได้รับการปรับปรุงมาจากภาพอุกิโยะ ภาพศิลปะของของญี่ปุ่นที่เกิดในยุคเอโดะ แต่ในปัจจุบันรูปแบบของหนังสือการ์ตูนมังงะได้มีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ คือไม่ได้หยุดอยู่แค่การ์ตูนช่องๆ เพียงเท่านั้น แถมกลุ่มเป้าหมายก็ไม่ได้มีแค่เด็ก เพราะผู้ใหญ่ก็สามารถอ่านได้เช่นกันจ้า
ข้อแตกต่างระหว่างมังงะกับอนิเมะ
หลายคนอาจจะเหมารวมว่ามังงะกับอนิเมะนั้นคือสิ่งเดียวกัน แต่ความจริงแล้วทั้ง 2 คำนี้มีคำอธิบายที่แตกต่างแต่ค่อนข้างจะชัดเจนอยู่ คือ มังงะ เป็นคำที่ใช้แทน ‘หนังสือ’ การ์ตูนของญี่ปุ่น ขีดเส้นใต้คำว่าหนังสือ ส่วน อนิเมะ นั้นเป็นการ์ตูนที่ทำออกมาในแบบของ ‘ภาพเคลื่อนไหว’ ที่ถูกนำมาเผยแพร่ผ่านช่องทางโทรทัศน์หรือโรงภาพยนตร์
ซึ่งอนิเมะส่วนใหญ่ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากมังงะนั่นแหละจ๊ะ เพราะมังงะที่ได้รับความนิยมจากคนอ่านเยอะมักจะถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะ เพื่อเป็นช่องทางการหารายได้และเรียกฐานแฟนคลับเพิ่มเติม โดยจะมีการปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับการเผยแพร่ผ่านช่องทางโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกทีนั่นเอง
อ่านต่อ>>>มอร์แกน ฟรีแมน